วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยไม้อากาศ


       กล้วยไม้อากาศ กล้วยไม้จำพวกนี้เราจะพบเห็นอยู่ตามต้นไม้ มีระบบราก และลักษณะราก อยู่ในประเภทรากอากาศ มีระบบรากหยาบ รากมีขนาดใหม่ ถ้าใช้มือหักรากสดจะพบว่า ตัวรากจริง ๆ เป็นแกนเล็กและแข้ง ส่วนผิวที่หนามีคุณสมบัติเก็บความชื้น และอาหารได้ดีเป็นพิเศษ ไม่ชอบที่แฉะ หรือมีน้ำขัง ชอบที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี กล้วยไม้สกุลนี้ ได้แก่ สกุลแวนดา แอริเดส อะแรคนิส เรแนนเธอรา วินคอสไดลิ และฟาแลนนอพซิส เป็นต้น

ช้างสารภี หรือเอื้องเจ็ดปอย
แหล่งที่พบ : อุบลราชธานี
 
เอื้องกุหลายมาลัยแดง
แหล่งที่พบ : อุบลราชธานี

วิธีการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่ผสมเกสร

      วิธีการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่ผสมเกสรนั้น เราสามารถตัดแยกลำหน้าลำหลังของกล้วยไม้ วิธีนี้จะเหมาะกับกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียล ส่วนการตัดลำแก่ปักชำนั้น ใช้กับกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลสกุลหวายบางหมู่ การตัดยแก การแยกหน่อ ใช้สำหรับกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดียล การตัดก้าน ช่อดอก ปักชำ จะใช้กับกล้วยไม้ฟาแลนนอพซิสบางชนิด และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะใช้กับพวกกล้วยไม้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งวิธีที่ได้กล่าวมานี้ สามารถเพิ่มจำนวนต้นให้มากขึ้น และช่วยให้ต้นที่ใกล้หมดสภาพ หรือใกล้ตายกลับมาแข็งแรงในสภาพปกติที่เหมือนต้นเดิมได้
      การขยายพันธุ์โดยการเผสมเกสรทำได้โดยการผสมตัวเอง การผสมข้ามต้น การผสมข้ามชนิด การผสมข้ามหมู่ และการผสมข้ามสกุล ซึ่งการผสมพันธุ์เกสรนั้น เป็นการเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ได้รวดเร็วกว่าการตัดแยกเป็นอย่างมาก การผสมพันธุ์ยังช่วยพัฒนาคุณลักษณะของกล้วยไม้ได้อีกด้วย เพราะกล้วยไม้ที่นำมาผสมพันธุ์นั้น จะเป็นการผสมตัวเองจากดอกเดียวกัน หรือคนละดอกบนต้นเดียวกัน หรือคนละกระถาง แต่แยกมาจากต้นเดียวกัน
      ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ระพี สาคริก ได้ให้ข้อมูลวิธีการผสมพันธุ์กล้วยไม้สกุลโมโนโพเดียล หรือสกุลแวนด้าไว้ดังนี้ ให้สังเกตดูว่าจะมีก้านเกสรตัวผู้ที่เหนียว ที่โคนก้านมีเยื่อบาง ๆ หรือลักษณะเป็นจาน สามารถติดสิ่งที่ไปสัมผัสได้ง่าย เมื่อเราจะผสมพันธุ์ก็ใช้ปลายไม้จิ้มฟัน หรือก้านไม้ขีดที่สะอาด สกิดที่จะงอยส่วนล่างของฝาครอบเกสรตัวผู้ ซึ่งอยู่ตรงปลายเส้าเกสรออก จะเห็นว่า จานที่มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ จะดูดติดปลายไม้ออกมา พร้อมดึงเอาเกสรตัวผู้ ซึ่งมีอยู่ 1 คู่ติดมาด้วย ให้เราใช้มือที่สะอาดค่อย ๆ ปลดเอาเกสรตัวผู้ออกจากปลายไม้วางลงบนฝ่ามือ หรือแผ่นกระดาษที่สะอาด แล้วใช้ปลายไม้จิ้มฟันเขี่ยน้ำเหนียว ๆ จากยอดเกสรตัวเมียของดอกอื่นมาแตะที่เกสรตัวผู้ในฝ่ามือ หรือแผ่นกระดาษ น้ำเหนียว ๆ ที่เราเห็นตรงปลายไม้ จะทำให้เกสรตัวผู้ติดอยู่ แล้วเราก็นำไม้ที่มีเกสรตัวผู้ติดอยู่ไปวางไว้ในแอ่งที่เป็นยอดของตัวเมีย ซึ่งอยู่ส่วนใต้ของปลายเส้าเกสรของดอก การที่เราปลดเกสรตัวผู้พักไว้ที่ฝ่ามือ หรือกระดาษ ก็เพราะว่าถ้าใช้ปลายไม้แคะเกสรตัวผู้ แล้วนำไปใส่แอ่งเกสรตัวเมียโดยตรง เมื่อชักปลายไม้ออก เกสรตัวผู้จะติดกลับออกมาด้วย




องค์ประกอบ

ดอกกล้วยไม้มีกลีบดอกอยู่    ชุดๆละ ๓ กลีบ ซ้อนแบบสลับกันอยู่ ๒ ชั้น   ขณะที่ดอกยังตูมอยู่     ชุดหนึ่งจะหุ้มอยู่ภายนอก  เมื่อดอกบาน    กลีบดอกชุดนี้จะรองรับอยู่ด้านหลังของดอก   ในวงการกล้วยไม้นิยมเรียกว่า  กลีบนอก (sepals) ส่วนอีกชุดหนึ่งซึ่งมี ๓ กลีบ เช่นเดียวกัน  แต่ในขณะที่ดอกยังตูมอยู่   จะถูกกลีบนอกห่อหุ้มไว้ภายใน   เมื่อดอกบานจะอยู่ด้านหน้า  เรียกว่า   กลีบใน (petals)ในขณะที่ดอกบานเต็มที่  กลีบนอกกลีบหนึ่งจะชี้หรือตั้งขึ้นด้านบน   เรานิยมเรียกกันว่า  กลีบนอกบน  (dorsal  sepal ก.๑)ส่วนกลีบนอกอีก ๒ กลีบนั้น  ชี้ออกทางด้านข้างหรือเฉียงลงข้างล่าง  มีลักษณะและสีเหมือนกันทั้งคู่   เราจึงเรียกว่า   กลีบนอกคู่ล่าง (lateral sepals ก.๒, ก.๓)  นอกจากดอกกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ซึ่งมีกลีบนอกคู่ล่างแฝดติดกัน  และชี้ลงด้านใต้ของดอก  ในทางวิชาการพฤกษศาสตร์ เราเรียกกลีบนอกคู่ล่างที่แฝดติดกันนี้ว่า synsepalum (ก.๒-๓)    เราสามารถสรุปได้ว่ากลีบนอกของกล้วยไม้ทั้ง  ๓ กลีบนี้  อาจมีลักษณะและสีสันเหมือนกันทั้งหมดก็ได้   หรือกลีบนอกบนกลีบเดียวที่มีลักษณะและสีสันแตกต่างออกไปแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้   ส่วนกลีบนอกคู่ล่างทั้งคู่จะต้องมีสีสันและลักษณะเหมือนกันเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ชนิดใดก็ตาม  เราจึงเรียกว่า  กลีบนอกคู่ล่าง ในบรรดากลีบในทั้ง  ๓ กลีบนั้น  เนื่องจากเป็นชุดของกลีบ ซึ่งอยู่สลับกับกลีบนอก   ดังนั้น   จะมีกลีบในคู่หนึ่ง  (ข.๒,ข.๓)ชี้ออกทางด้านข้างของดอก   หรือเฉียงขึ้นข้างบนข้างละกลีบ  กลีบในคู่นี้มีลักษณะและสีสันเหมือนกัน  ถ้ามองดูจากด้านหน้า
ของดอกกล้วยไม้จะรู้สึกว่า   กลีบในแต่ละข้างอยู่ระหว่างกลีบนอกบนกับกลีบนอกที่อยู่ด้านข้าง      อาจมีกล้วยไม้บางชนิดซึ่งมีกลีบในทั้งคู่ชี้ออกมาทางด้านหน้าของดอกด้วย   ส่วนกลีบ ในอีกกลีบหนึ่ง   หรือกลีบที่  ๓ (ข.๑) นั้นชี้ลงด้านล่าง หรือยื่นออกมาทางด้านหน้าของดอกด้วย   กลีบในกลีบนี้มีลักษณะสีสัน และรายละเอียดต่างๆ แตกต่างออกไปจากกลีบในคู่ที่กล่าวมาแล้วโดยสิ้นเชิง   ดังนั้น  ในด้านวิชาการจึงมีชื่อเรียกเฉพาะไว้ว่า labellum   ส่วนคำสามัญนั้นนิยมเรียกกันว่า  lip  ภาษาไทยเรียกว่า  "ปาก" หรือ   "กระเป๋า"  ปากเป็นคำที่นิยมใช้กันมากกว่า  ดังนั้น  เมื่อมีการเรียกส่วนของดอกกล้วยไม้ว่า "ปาก" ในหลักการย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า  คือกลีบในกลีบที่ ๓ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากกลีบอื่นๆ นั่นเอง
ภาพส่วนประกอบภายนอก

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ

                                                     สกุลเข็ม (Ascocentrum)
กล้วยไม้สกุลนี้มีในบ้านเรา 3 ชนิด จากจำนวน 4 ชนิด และเป็นชนิดที่มีดอกสวยงามมากที่สุดคือ เข้มม่วง เข็มแดง และเข็มแสด ส่วนเข็มขาวและเข็มเหลือเป็นไม้ในสกุลแวนดา และเข็มหนูได้ย้ายไปไว้ในสกุล Smitinandia ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ เข็มทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวข้างต้นมีต้นและดอกเล็กแต่มีสีสันสดใสมาก เมื่องบานพรูพร้อมกันหลาย ๆ ช่อจึงดูสวยงามน่าดูมากเข้าลักษณะไม้แคระ (miniature) ได้เมื่อเที่ยบกับขนาดของแวนดาทั่วไป ปลูเลี้ยงง่าย ชอบ แดดโดคเฉพาะเข็มแสด และเข็มแดง ส่วนเข็มม่วงเลี้ยงยากกว่าและออกดอกยาวกว่าด้วย
สกุลเอื้องกุหลาบ (Aerides)
            กล้วยไม้สกุลนี้เฉพาะที่พบในบ้านเรามี 8 ชนิดด้วยกัน โดยไม่นับรวมเอื้องกุหลาบหนวดพราหม์พมณ์ (Aer. mitrata) ที่ย้ายไปไว้ในสกุลใหม่เป็น Seidenfadenia mitrata เอื้งกุหลาเป็นพวกไม้อากาศที่เลี้ยงง่าย ยกเว้นบางชนิดที่ชอบอากาศเย็น ช่อห้อยหรือช่อโค้งลง ดอกสวยงาม แลบาางชนิดมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลายก็มี คล้ายกลิ่นตะใครก็มี จึงเป็นกล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับนำไปปลูกประดับสวนโดยห้อยไว้ตามคบไม้ กิ่งไม้และตอไม้หรือแม้แต่บนกำแพงหรือบนรั้วบ้าน เพื่อให้เจริญงอกงามเป็นกอใหญ่ต่อไป เมื่อถึงฤดูดอกจะออกหร้อมกันหลายสิบช่อน่าดูมาก ปละถ้าเป็นชนิดที่มีกลิ่นจะหอมตลบไปทั่วบริเวณ
 
สกุลช้าง (Rhynchostylis)
             กล้วยไม้สกุลนี้ นอกจากช้างกระ ช้างเผือก และช้างแดงแล้วยังมีไฮนเรศและเขาแกะรวมอยู๋ด้วยทั้งหมดนี้เป็นพวกไม้อากาษโดยแท้ จึงเหมาะที่จะนำไปเกาะตามต้นไม้กิ่งไม้และตอไม้มาก เลี้ยงง่ายออกดอกง่าย และมีช่อตั้งและช่อห้อย พอถึงฤดูดอกจะออกพรูหร้อมกันหลายสิบช่อ ถ้าหากเลี้ยงเป็นกอใหญ่จะน่าดูยิ่งขึ้น และมีกลิ่นหอมตลบทั่วบริเวณโดยเฉพาะช้าว ซึ่งในปัจจุบัน ได้มี การผสมระหว่างไม้ชนิดเดียวกัน และคัดเลือกได้พันธ์ที่ดีเด่นขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่เรียนว่าไม้พันธ์แท้ ส่วยที่ทำการผสมข้ามสกุลก้อสามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นของช้างไปยังลูกผสมได้ดีมาก เช่น Opisanea lanathai (ช้างแดง-ลิ้นกระบือ) และ Rhynchovanda Sagarik Wine (ช้างแดงขสามปอย) เป็นต้น
 

การค้นพบกล้วยไม้

กล้วยไม้ชนิดที่ขึ้นอยู่บนดิน     รากจะมีลักษณะเป็นหัวและอวบอิ่มไปด้วยน้ำ    จึงมีศัพท์เฉพาะที่บรรยายลักษณะของรากเช่นนี้ว่า  "อวบน้ำ"  กล้วยไม้  ประเภทนี้มีอยู่หลายสกุล    เช่น   สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria) เพกไทลิส (Pecteilis) และแบรกคีคอไรทิส (Brachycorythis) เราเรียกกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า  กล้วยไม้ดิน  ในบ้านเราที่พอจะจัดเข้าประเภทนี้ได้ก็คือ นางอั้ว  นางกรวย   และท้าวคูลู  ซึ่งจะผลิดอก  ในระหว่างกลางถึงปลายฤดูฝนของแต่ละปี   เราอาจจะพบกล้วยไม้ประเภทนี้อีกหลายชนิด ขึ้นอยู่ในภูมิภาคต่างๆของโลกอย่างกว้างขวาง   แม้แต่เขตหนาวเหนือของทวีปยุโรป  เช่น  ตามหมู่เกาะต่างๆ  ในทะเลบอลติก   ซึ่งในฤดูหนาวมีหิมะตกทับถมบนพื้นดินหนามาก   และเป็นเวลานานหลายเดือนด้วย   แต่กล้วยไม้เหล่านี้ก็คงทนอยู่ได้   เนื่องจากมีความสามารถพิเศษในการปรับลักษณะของตัวเองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ของฤดูกาลที่ปรากฏเป็นประจำในรอบปีได้  กล่าวคือ  เมื่อถึงฤดูที่อากาศหนาวจัดหรือแห้งจัด    ต้นและใบที่อยู่เหนือพื้นดินจะแห้งไป     คงเหลือแต่หัวฝังตัวอยู่ภายใต้ผิวดิน   ครั้นพอถึงฤดูที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม  ก็จะเจริญขึ้นมาเป็นต้นและใบ   เมื่อเจริญเต็มที่  ก็จะผลิดอกและสร้างหัวใหม่  เพื่อเก็บสะสมอาหารไว้ใต้ผิวดินอีก    เมื่อหัวใหม่เจริญเต็มที่     ส่วนต้น   ใบ   และดอกเหนือผิวดินก็จะถึงเวลาแห้งเหี่ยวพอดี  ส่วนหัวจะพักรอเวลาที่อากาศเหมาะสม  ก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ดังนี้เรื่อยไปนอกจากกล้วยไม้ดิน  ซึ่งมีหัวเป็นที่สะสมอาหารใต้ดินแล้ว    ยังมีกล้วยไม้ประเภทไม่มีหัว   และชอบขึ้นอยู่บนหินภูเขาที่มีเศษหินผุ     และเศษใบไม้ผุตกทับถมกันอยู่หนาพอสมควร   เป็นกล้วยไม้ในสกุลพาฟิโอเพดิลัม (Paphiopedilum)  หรือที่คนไทยเรียกกันว่า   กล้วยไม้รองเท้านารี  และยังมีบางประเภทซึ่งเกาะอยู่บนคาคบไม้    ซึ่งจะพบได้ในเขตร้อน  เช่น  กล้วยไม้ในสกุลแวนดา  (Vanda)  คัทลียา  (Cattleya)   และสกุลเดนโดรเบียม (Dendrobium) หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า สกุลหวาย   กล้วยไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะแปลกออกไปคือ   มีรากใหญ่    ยาวและแตกแขนงรากอย่างโปร่งๆ เป็นรากอากาศ   แม้จะเกาะกับต้นไม้ ก็จะมีส่วนที่ยาวและห้อยลงมาในอากาศด้วย  แต่รากกล้วยไม้สกุลคัทลียาและเดนโดรเบียมมีลักษณะค่อนข้างเล็ก   ละเอียด   และหนาแน่น  ไม่โปร่งอย่างแวนดา   บางตำราจึงแยกกล้วยไม้สกุลคัทลียา และเดนโดรเบียมไปไว้ในประเภทกึ่งอากาศ
              กล้วยไม้ที่เกาะอยู่ตามต้นไม้มิใช่กาฝาก   เป็นเพียงอาศัยเกาะ และอาศัยร่มเงาจากกิ่งและใบของต้นไม้เท่านั้น    มิได้แย่งอาหารใดๆจากต้นไม้ที่อาศัยเกาะนั้นเลยรากของกล้วยไม้ได้อาศัยความชื้นจากอากาศ หรือจากเปลือกของต้นไม้  และอาศัยธาตุอาหารต่างๆ  จากการผุและสลายตัวของใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นลงมาค้างอยู่ตาม กิ่งไม้ หรือจากเปลือกชั้นนอกของต้นไม้ที่ผุเปื่อยแล้ว   กล้วยไม้เป็นต้นไม้ที่มีสีเขียว   เช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป  จึงมีความต้องการแสงสว่าง  น้ำหรือความชื้น  ธาตุอาหาร  และอุณหภูมิที่เหมาะสม   เพื่อการดำรงชีวิต  การเจริญเติบโต    และผลิดอกออกช่อตามเวลาอันสมควร   ไม่แตกต่างไปจากต้นไม้อื่นๆ เลย

การปลูกกล้วยไม้


     เนื่องจากในรอบปีแต่ละปีนั้น  มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตาม  และความชุ่มชื้นก็ตาม   อัตราการเจริญของกล้วยไม้ต่างๆในแต่ละฤดูกาล   ก็มีความสอดคล้องกับบทบาทการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล  เช่นเดียวกันกับพันธุ์ไม้อื่นๆ  ประเทศไทยตั้งอยู่ค่อนมาทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร   (equator)   ของโลก    ซึ่งมีผล กำหนดลักษณะฤดูกาลไว้อย่างแน่ชัด  การปลูกและการขยายพันธุ์ ไม้ควรยึดหลักปฏิบัติในระยะต้นๆของฤดูเจริญเติบโต   เพื่อให้ กล้วยไม้ได้มีโอกาสตั้งตัวและเจริญแข็งแรงดี   ก่อนถึงฤดูกาลที่กล้วยไม้จะต้องมีการเจริญช้าลง  หรือบางชนิดก็พักตัว  ฤดูเจริญ เติบโตของกล้วยไม้เริ่มต้นระหว่างปลายฤดูแล้งต่อต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนมีนาคม-มิถุนายนกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพซึ่งควรจะได้พิจารณาปลูกใหม่ ช่วยเพิ่มความแข็งแรง  หากเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศคือ   มีรากใหญ่และโปร่ง  ต่อมาในภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า    การใช้ถ่านไม้นับเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า  จึงได้มีผู้นิยมมากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็มีผู้ซึ่งพยายามงดเว้นการใช้เครื่องปลูกใดๆทั้งสิ้น   สำหรับกล้วยไม้ประเภทที่ มีรากอากาศ  โดยให้รากเกาะอยู่ในภาชนะปลูกเท่านั้น     ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่พอใจ      ทั้งจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับสภาพดังกล่าว  เช่น  มีการให้น้ำและให้ปุ๋ยมากขึ้นกล้วยไม้เหมือนพันธุ์ไม้ที่พบทั่วๆไปทั้งหลาย   ซึ่งมีความต้องการน้ำ  ปุ๋ย   และการเลี้ยงดูตามสมควร   กล้วยไม้ประเภทที่มีรากอากาศนั้น   มีผิวรากหนา  และมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้มาก จึงสามารถอยู่ในอากาศได้ดี   และยังดูดความชื้นจากอากาศบาง ส่วนได้ด้วย    โดยปกติในสภาพฝนฟ้าอากาศโปร่งและแจ่มใสการรดน้ำให้กล้วยไม้วันละครั้งในเวลาเช้าอย่างทั่วถึง    นับว่า เป็นการเพียงพอ    ส่วนปุ๋ยนั้นโดยทั่วๆไป     ควรมีการให้ปุ๋ยละลายน้ำรดกล้วยไม้ประมาณสัปดาห์ละ ๑  ครั้ง     ฟอสเฟต  และโพแทสเซียม ในอัตราส่วนประมาณเท่าๆ กัน  ปุ๋ยผสมนี้ควรเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี  และใช้ในอัตราประมาณร้อยละ ๐.๑-๐.๕  ของปริมาณน้ำ ก็นับว่าเป็นการเพียงพอการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชใน  การเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นสิ่งพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพราะสารเคมีเหล่านี้เมื่อมีพิษมีภัยต่อศัตรูกล้วยไม้ได้ฉันใด    ก็ย่อมมีพิษมีภัยต่อชีวิตคนได้ฉันนั้น   เราควรจะปลูกกล้วยไม้ประมาณเดือนมีนาคม-มิถุนายนกล้วยไม้ก็จะเจริญเติบโตได้ดี

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การดูแลรักษา

       การปลูกเลี่ยงกล้วยไม้แบบ ธรรมชาตินั้น อาจกล่าวได้ว่าต้องการการดูแลรักษาน้อยมาก ผิดกับการปลูกเลี้ยงเป็นจำนวนมากในเรือนโรงมราต้องดูแลเป็นอย่างดี และมักมีโรคและแมลงศัตรูมากด้วย ประการสำคัญเพราะเราได้เลือกสรรชนิดของกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรคและแมลงไม่มีเครื่องปลูกที่ผุเปื่อยตามอายุซึ่งจะต้องคอยเปลี่ยนใหม่ จึงเหมือนแต่เพียงดูแลรดน้ำให้บางตามความจำเป็น หรือพ่นยาป้องกันกำจัดโรคแมลงศตรูให้ในกรณีที่แหล่งนั้นมีมากกว่าปกตินานๆ ครั้งเพื่อให้กล้วยไม้สมบูรณ์แข็งแรง บางทีจะพบว่าจริญงอกงามดีกว่าพบในป่ามาก เพราะได้น้ำอาหารดีกว่าตลอกทั้งปี ไม่เหี่ยงเฉาในช่วงแล้งจัด การให้ปุ๋ยก้อเช่นกันเป็นเพียงเสริมให้ต้นไม้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นไม้กำลังเจริญแตกหน่อแตกใบ
      อนึ่ง การรดน้ำนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะสภาพแวดล้อมในเมืองใหญ่ ๆ ในปัจจุบันมีอากาศร้อนอบอ้าวและมีฝุ่นละอองมากกว่าในป่า ซึ่งการรดน้ำนอกจากจะช่วยให้อากาศเย็นขึ้นแล้วยังทำหน้าที่ชำระล้างเอาฝุ่นละอองที่จับตามรากต้นไม้ด้วยมีข้อเสียอยู๋บ้างสำหรับน้ำบาดาลในบางท้องที่ซึ่งมีปริมาณเกลือแร่สูง และมีคุณสมบัติไม่เหมาะสำหรับกล้วยไม้บางชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย และ เขาแกะ เป็นต้น มักจับเป็นคราบอยู๋ตามใบรากทำให้กล้วยไม้ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรไประยะหนึ่ง พอเข้าฤดูฝนจะเจริญงอกงามตามปกติ